ใบงานที่4 บทความสำหรับโครงงานคอมพิวเตอร์
Credit:https://aloudbangkok.files.wordpress.com/2012/05/untitled-11.jpg
ขยะมูลฝอย
ขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น
มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ
ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี
สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว
แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะ
ทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน
สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถ
ในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70 % ของขยะที่เกิดขึ้น
จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ
หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
คือ
1.
อากาศเสีย เกิดจากการเผามูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ
2.
น้ำเสีย เกิดจากการกองมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นเมื่อฝนตกจะเกิดน้ำเสียซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำทำให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ
3.
แหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน
ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
4.
เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน
ระยะเวลาที่ขยะแต่ละชนิดย่อยสลายตามธรรมชาติ
ชนิดของขยะ
|
ระยะเวลาย่อยสลาย
|
เศษกระดาษ
|
2-5 เดือน
|
เปลือกส้ม
|
6 เดือน
|
ถ้วยกระดาษเคลือบ
|
5 ปี
|
ก้นกรองบุหรี่
|
12 ปี
|
รองเท้าหนัง
|
25-40 ปี
|
กระป๋องอะลูมีเนียม
|
80-100 ปี
|
ถุงพลาสติก
|
450 ปี
|
โฟม
|
ไม่ย่อยสลายควรหลีกเลี่ยงการใช้
|
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากของเสียอันตราย
ของเสียอันตราย
หมายถึงของเสียที่มีส่วนประกอบหรือเจือปนด้วยวัตถุอันตราย
ซึ่งตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ระบุว่ามี 10 ประเภท ได้แก่ วัตถุระเบิดได้
วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค
วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง พันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน
วัตถุทีก่อให้เกิดการระคายเคืองและวัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์
หรือสิ่งอื่นใดอาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม
ปัญหามลพิษจากของเสียอันตราย ที่สำคัญซึ่งกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
1. ของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ สารเคมี เศษวัตถุดิบ เศษผลิตภัณฑ์
น้ำเสีย อากาศเสีย
2. ของเสียอันตรายจากสถานพยาบาล ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อ เศษชิ้นส่วนอวัยวะต่าง
ๆ เศษเนื้อเยื่อ สารกัมมันตรังสี ซากสัตว์ทดลองและสิ่งขับถ่ายหรือของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย
3. ของเสียอันตรายจากบ้านเรือน เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว ได้แก่ ถ่านไฟฉาย
แบตเตอรี่รถยนต์ น้ำยาทำความสะอาด เครื่องสุขภัณฑ์ หลอดฟลูออกเรสเซนต์ สารเคมี
กำจัดแมลง
4. ของเสียอันตรายจากภาคเกษตรกรรม ได้แก่ ภาชนะบรรจุสารเคมี ประเภทสารเคมี
กำจัดศัตรูพืช
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น